การจดทะเบียนบริษัทอย่างง่ายๆ

เริ่มต้นเตรียมตัวอย่างไร? เมื่อคิดจดบริษัท

เริ่มจากตั้งชื่อบริษัท แนะนำให้คิดชื่อแบบกลางๆ จะทำให้เราสามารถทำธุรกิจได้หลายอย่าง เช่น ประกอบกิจการบริการ ประกอบกิจการซื้อมาขายไป ประกอบกิจการรับผลิตสินค้า ประกอบกิจการนำเข้า-ส่งออก ประกอบกิจการรับเหมาก่อ สร้าง ประกอบกิจการรับเป็นที่ปรึกษาด้านต่างๆ โดยไม่ให้ขัดกับชื่อที่เราตั้งไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ชลธี บิสซิเนส กรุ๊ป จำกัด ก็สามารถให้บริการได้ทุกๆด้าน โดยไม่ขัดกับชื่อบริษัท แต่ถ้าเราตั้ง ชื่อบริษัท ควิก แอคเคาท์ติ้ง จำกัด แล้วไปให้บริการรับเหมาก่อสร้างก็คงจะดูไม่เหมาะสมกับชื่อ

หลังจากเราตั้งชื่อได้แล้วก็สามารถเข้าไปจอง ชื่อนิติบุคคล ได้ที่เว็บไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หลังจากนั้นก็มาดู เรื่องต่อไป คือ ผู้ก่อการจัดตั้งจดทะเบียนบริษัทเมื่อก่อนใช้ 7 คน แต่ตอนนี้กฎหมายใหม่เหลือแค่ 3 คน อนาคตอาจ เหลือเพียง 2 คน ทำให้เราจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้ง่ายขึ้นมาก “เห็นไหมครับว่าไม่มีอะไรยาก” เอาละครับ ถ้ามีเรา เพียงคนเดียวก็จัดตั้งบริษัทไม่ได้ ผมแนะนำให้เราเรียนเชิญ คุณพ่อ คุณแม่ พี่น้อง ญาติติโกโหติกา นามสกุลเดียวกันก็ ได้ หรือแม้แต่เพื่อนสนิทมาร่วมเป็นเกียรติ ถือหุ้นให้เราสัก 2 คน คนละ 1 % ก็พอครับ ที่เหลือเราก็ถือไว้ทั้งหมด 98 % และเราก็เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามกระทำแทนบริษัทเพียงคนเดียว ถ้าผู้ที่จะมาถือหุ้นเค้ากลัวเรื่องกฎหมาย เรื่องภาษี บอกเค้าเลยครับ ว่าผู้ถือหุ้นรับผิดชอบแค่ส่วนของมูลค่าที่ตัวเองถือเท่านั้น เช่น หุ้นละ 100 บาท ถือไว้ 1 หุ้น ก็รับผิดชอบเพียง 100 บาทเท่านั้น ส่วนเรื่องภาษง ภาษี อะไรก็ไม่ต้องกลัวเพราะยังไม่มีรายได้จากการปันผลหุ้นเลย รอบริษัทมีกำไร และมีมติปันผลหุ้นก่อน และถ้ามีการปันผลจริงหุ้นละ 100 บาท จะมีรายได้สักเท่าไรครับ แทบจะไม่ มีผลเลย พอจะเข้าใจกันบ้างแล้วใช่ไหมครับ ที่นี่มาถึงเรื่องเงินทุนจดทะเบียน หลายๆคนยังเข้าใจว่าต้องมี 1 ล้านบาท จริงๆถึงจะเปิดบริษัทได้ซึ่งไม่จำเป็นเลยครับ ผมแนะนำนะครับให้จดเริ่มต้นที่ทุน 1 ล้านบาทก่อน เพื่อให้ดูดี และมี ความน่าเชื่อถือเวลาที่ติดต่องานกับลูกค้าจะได้ไม่อายเค้า โดยให้เลือกชำระค่าหุ้นเพียง 25 % ก่อน เพื่อให้ง่ายกับการ ทำบัญชีของบริษัท และแก้ปัญหาในเรื่องของเงินลงทุนในช่วงแรก

ต่อจากนั้นก็ถึงขั้นตอนการจัดเตรียมเอกสาร ไม่ยากครับ เอกสารที่ใช้ก็มี สำเนาบัตรประชาชนผู้ก่อตั้งทั้ง 3 ท่าน และ สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งบริษัท (ออฟฟิศที่ทำงานของเราเอง) ก็สามารถทำแบบจดทะเบียนได้แล้ว ปกติถ้ามีเวลาเรา สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มาพิมพ์และทำเองได้แต่จะเสียเวลานะครับ เนื่องจากเราไม่ ได้ทำเป็นประจำ และเอกสารก็มีจำนวนหลายแผ่น ผมแนะนำให้จ้างบริษัทรับจดทะเบียน เช่น บริษัท ชลธี บิสซิเนส กรุ๊ป จำกัด ซึ่งให้บริการรับจดทะเบียนทั่วประเทศ แถมยังมีบริการอย่างอื่นครบวงจร อาทิเช่น รับจดทะเบียนบริษัท รับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด รับจดทะเบียนมูลนิธิ รับจดทะเบียนสมาคม อีกทั้งยังรับขอใบอนุญาตธุรกิจด้านอื่นๆ รับบริการทำบัญชี รับปรึกษาทางด้านการตลาด ด้านกฎหมาย ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับการเริ่มก่อตั้งธุรกิจโดยเฉพาะ

เมื่อเลือกได้แล้วว่าจะทำเอกสารเอง หรือจะจ้างบริษัทที่รับจดทะเบียน เมื่อเอกสารครบและจัดเตรียมแบบเสร็จเรียบร้อย พร้อมให้ผู้ก่อตั้งลงนามครบทั้งหมด ก็สามารถนำไปจดได้จัดตั้งบริษัทได้ที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ พาณิชย์จังหวัด ใช้เวลาไม่เกินครึ่งวันก็เสร็จ แนะนำให้ไปดำเนินการในช่วงเช้า เพราะถ้ามีอะไรผิดพลาดก็สามารถแก้ไขและดำเนินการต่อในช่วงบ่าย

เห็นไหมครับว่าการจดทะเบียนบริษัทนั้นง่ายมาก แต่สิ่งสำคัญที่ผมอยากจะบอก คือทำอย่างไรถึงจะบริหารและดูแล ธุรกิจของเราให้เจริญเติบโต ตรงนี้คือสิ่งสำคัญมากกว่าครับ สิ่งที่จะทำให้เราดูแลกิจการ คือระบบบัญชีที่ดี ถ้าสังเกตง่ายๆ เจ้าของกิจการขนาดใหญ่จะส่งลูกหลานไปเรียนทางด้านบัญชี เพื่อกลับมาดูแลธุรกิจของตัวเอง

มาถึงตรงนี้แล้ว ใครที่คิดจะจดจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ผมแนะนำว่าให้จดทะเบียนบริษัทเลยดีกว่าครับ เพราะไหนๆแม้ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัทจำกัด ก็ต้องมีหน้าที่จัดทำบัญชี และเสียภาษีหลักเกณฑ์เดียวกัน ผมจะอธิบายข้อดีของบริษัทจำกัด เป็นข้อๆนะครับ

  1. บริษัทจำกัด มีความน่าเชื่อถือมากกว่า ชัดเจนโดยการลงทุนของผู้ถือหุ้นต้องลงทุนด้วยเงิน แบ่งเป็น หุ้นๆละเท่าๆกัน แต่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลงทุนด้วยเงิน ลงทุนด้วยทรัพย์สิน แรงงานความสามารถ สิ่งบางครั้งตีเป็นมูลค่า ได้ยาก
  2. โครงสร้างการบริหารจัดการ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจบริหารของบริษัทจำกัด จะต้องมีการเชิญ ประชุมและลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ทำให้มีกฎหมายบังคับใช้มากกว่า
  3. บริษัทจำกัด ทำบัญชีได้ง่ายกว่า เพราะสามารถชำระมูลค่าหุ้นขั้นต่ำ 25 % ของทุนจดทะเบียนทั้ง หมดได้ และไม่ต้องยืนยันยอด ภาษีซื้อ- ภาษีขาย
  4. ชาวต่างชาติสามารถเป็นกรรมการและมีอำนาจลงนามได้ โดยถือสัดส่วนหุ้นไม่เกิน 49% เพื่อให้ เป็นบริษัทสัญชาติไทย ซึ่งถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ถ้าชาวต่างชาติเป็นหุ้นส่วนกรรมการ ก็จะถือว่าเป็น นิติบุคคล ต่างด้าว