งบการเงิน

งบการเงินมีกำหนดส่งอย่างไร?

หลายคนมีข้อสงสัยว่าทำไมต้องยื่นงบการเงิน  ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศจะขีดชื่อนิติบุคคลที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครกว่า 10,000 ราย ออกจากทะเบียน เนื่องจากไม่ได้ส่งงบการเงินต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี และหรือไม่ยื่นชำระบัญชีให้แล้วเสร็จตามกฎหมาย ส่งผลให้นิติบุคคลเหล่านี้สิ้นสภาพไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อีกต่อไป

  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน นิติบุคคลต่างประเทศ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องนำส่ง ภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี
  • บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ต้องนำเสนอ เพื่ออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่ ภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี และยื่นงบการเงิน ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบการเงินได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
  • หอการค้า สมาคมการค้า ต้องนำเสนอ เพื่ออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่ ภายใน 120 วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี และยื่นงบการเงิน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่งบการเงินได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่

วิธีการยื่นงบการเงิน: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ให้บริการรับงบการเงิน โดยนิติบุคคล สามารถนำส่งงบการเงินได้ 3 ช่องทาง

  1. นำส่งด้วยตนเอง ณ หน่วยงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  2. ส่งทางไปรษณีย์ ไปยังกองข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เลขที่ 563 ถนนนนทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
  3. ส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filling)

อัตราค่าปรับ กรณีนำส่งงบการเงินล่าช้า

Rate_of_fine_fs

9 พฤติกรรมเพิ่มทักษะการเงิน

ทำงานมานานแล้วยังไม่มีเงินเก็บหรือเปล่า

คุณเป็นอีกคนที่ทำงานมานานแล้วยังไม่มีเงินเก็บหรือเปล่า ลองมาปรับทัศนคติทางการเงิน ตามนี้กัน 9 ข้อง่ายๆ ที่จะทำให้คุณมีเงินในอนาคต และไม่ต้องลำบากในวันข้างหน้า
N150205530

  1. รู้ทันสภาพการเงินของตัวเองเสมอ พฤติกรรมเพิ่มทักษาทางการเงินสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัญหาการเงิน อาจมาจากสิ่งที่เกินความคาดหมาย
    ไม่ ทันตั้งตัว ดังนั้นคุณควรทำความเข้าใจสภาพการเงินของตัวเอง สิ่งที่สำคัญคือ ต้องรู้ว่าเรามีเงินมากน้อยขนาดไหน สำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต เริ่มต้นได้
    โดยการเลือกลงทุน หรือบริหารเงินของคุณตั้งแต่วันนี้
  2. กำหนด กรอบชีวิต การกำหนดกรอบชีวิตเป็นการคัดกรองไลฟ์สไตล์ของคุณ ว่าสิ่งไหนจำเป็น หรือเกินความจำเป็น เพราะในที่สุดแล้วกรอบชีวิตจะสามารถตอบโจทย์
    การใช้ชีวิต ทั้งหน้าที่การงาน รวมไปถึงเป้าหมายในชีวิตของคุณ
  3. ใช้ ชีวิตอย่างสมดุล อย่าเสียเวลากับสิ่งรอบข้าง ไม่มีความจำเป็นที่ต้องเสียเวลากับสิ่งที่จะทำให้คุณมีภาระหนี้เพิ่ม ดังนั้นคุณควรเพิ่มทักษะ การเรียนรู้การจ่ายเงิน
    น้อยกว่าเงินที่มี โดยเริ่มจากหาสิ่งที่รักและพอดีกับงบประมาณในกระเป่า เพื่อสร้างความสุขที่แท้จริงในระยะยาว
  4. อย่า เสียเงินเพื่อเป็นที่ยอมรับ  เราปฎิเสธไม่ได้ว่าการเข้าสังคมเป็นเรื่องปกติ แต่คุณต้องหาคำตอบว่าจำเป็นกับชีวิตคุณจริงๆหรือไม่ อย่าจ่ายเงินซื้อความสุข
    ในขณะที่คุณไม่ได้มีเงินเหลือเฟือ ดังนั้นคุณต้องปรับทัศนคติ และเปลี่ยนพฤติกรรมคือ เรียนรู้ที่จะปฎิเสธในการจ่ายเงินโดยไม่จำเป็น
  5. เตรียม แผนเกษียณอายุ สังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก จากที่เคยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่ ปัจจุบันมีขนาดเล็กลง พ่อแม่ที่ไม่อยากเป็นภาระของลูกหลาน ควรวางแผน
    การเงินหลังเกษียณ มิฉะนั้นคุณจะไม่มีโอกาสใช้ชีวิตอย่างที่คาดหวังในยามแก่เฒ่าได้เลย
  6. ปรึกษา เรื่องเงินกับคนรู้ใจ เงินทองเป็นเรื่องไม่เข้าใครออกใคร ดังนั้นควรหาคนไว้ใจได้ สามารถพูดคุยเรื่องเงินได้โดยที่เขาเต็มใจและเข้าใจ
  7. ปรับ ทัศนคติด้านการเงินกับคู่คิด ก่อนแต่งงาน เพราะพื้นฐานชีวิตที่ต่างกัน จะทำให้ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้เงินต่างกัน ดังนั้น คุณควรพูดคุยและเรียนรู้ทัศนคติ
    ทางการเงินกับคู่ชีวิตของคุณ เพื่อให้เกิด “จุดสมดุลทางการเงิน” ที่สร้างความลงตัวให้คุณทั้งสอง
  8. ยึด หลักดำเนินชีวิตเรียบง่าย  เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจธรรมชาติของชีวิตในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสุขทางใจโดยไม่ยึดติดกับวัตถุนิยม, การเลี้ยงลูก
    ด้วยความรักความอบอุ่น ดีกว่าเลี้ยงด้วยวัตถุ, ออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพ ดีกว่าเสียเงินเพื่อยื้อสุขภาพ เป็นต้น
  9. อย่า ปล่อยให้ใครมาจัดการเงินของคุณมากกว่าตัวคุณ การผลักภาระการบริหารการเงินให้คนอื่น อย่างที่ปรึกษาการเงิน โดยที่คุณเองไม่มีความเข้าใจและเห็นคล้อย
    ตามเขาไปเสียทุกอย่าง นั่นคือความประมาทอย่างใหญ่หลวง เพราะเขาอาจมีสิ่งอื่นแอบแฝง เช่น การทำยอดให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ที่แท้จริง
    ของคุณเลย แทนที่จะทำให้คุณมีเงินมากขึ้น อาจกลายเป็นการสูญเสียเงินโดยไม่จำเป็นก็เป็นได้

เครดิตข้อมูลจาก http://terrabkk.com/news/9-