คำร้องขออยู่ของคนต่างด้าว
การยื่นคำร้องขออยู่ของคนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทต่าง ๆ
- กรณีทั่วไป
- แบบคำร้อง (ตม. 7)
- หนังสือเดินทาง
- สำเนาหนังสือเดินทาง
- หน้าที่มีชื่อ – ชื่อสกุล – รูปถ่าย
- หน้าที่มีวันที่ออกหนังสือเดินทาง และวันหมดอายุ
- หน้าที่มีตรา VISA และตราประทับขาเข้า
- บัตร ตม. 6
- รูปถ่าย 4 x 6 ซม (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
- ค่าธรรมเนียมขออยู่ต่อ 1,900.- บาท
- กรณีมีเหตุจำเป็นในขออยู่ต่อ
ต้องประมวลเรื่องเสนอผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาสั่งการ เจ้าหน้าที่ประทับตรานัดฟังผล ในหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว 14 วัน- เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง เช่นเดียวกับกรณีทั่วไปในข้อ 1.1 – 1.5
- เพิ่มเติมเอกสารหลักฐานประกอบผลความจำเป็นตามแต่กรณี
- กรณีคนต่างด้าวอยู่เกินกำหนด
- บุคคล ต่างด้าว ต้องนำหนังสือเดินทางมาแสดงด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ ห้อง 205 ชั้น 2 อาคาร 1 เพื่อชำระค่าเปรียบเทียบปรับ กรณีอยู่เกินกำหนดอนุญาต ในอัตราวันละ 500.- บาท
ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หลักฐานเอกสารประกอบ
111
นำหลักฐานใบเสร็จรับเงินค่า เปรียบเทียบปรับ พร้อมเอกสารหลักฐาน ตามข้อ 1 หรือ ข้อ 2 แล้วแต่กรณี ไปยื่นคำร้องที่ช่องรับคำร้อง หมายเลข 5 ( บริเวณห้องโถงชั้นล่าง อาคาร 1) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามขั้นตอนเช่นเดียวกัน
การยื่นคำร้องขออยู่เพื่อการธุรกิจปีแรกและปีถัดไป
- แบบคำขอ ตม. 7 รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม จำนวน 1 รูป และ ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
- หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงานตามแบบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (แบบ สตม. 1)
- สำเนาใบอนุญาตทำงาน
- สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนขององค์กรนั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนางบดุล และงบกำไรขาดทุน 2 ปีล่าสุด (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร หรือกระทรวงพาณิชย์ หรือจากผู้ตรวจสอบบัญชี หรือใช้เอกสารตัวจริงเท่านั้น)
- สำเนาแบบรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จ (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร เท่านั้น)
- แบบนำส่งงบการเงินฯ (สบช.3) ปีล่าสุด (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากกระทรวงพาณิชย์ เท่านั้น)
- สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่มีชื่อพนักงานไทยและชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ3 เดือนล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีไม่มีชื่อของคนต่างด้าวให้ทำหนังสือชี้แจง)
- สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
- สำเนาแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานประกันสังคม ( สปส. 1-10) 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
- สำเนาแบบรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 30) 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
- เอกสารหรือหลักฐานแสดงว่า ธุรกิจมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน เช่น ประกาศรับสมัครคนไทยเข้าทำงาน แล้วไม่มีผู้สมัคร เป็นต้น
- แผนที่แสดงสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ
- เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่คณะกรรมการติดตามการปฎิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของ สตม. กำหนด
- รูปถ่านสถานประกอบการ
– ภายนอก ให้ปรากฏเลขที่ตั้งและป้ายชื่อสถานประกอบการ
– ภายใน ให้ปรากฏภาพพนักงานขณะปฏิบัติงานอยู่ - ให้นำหลักฐานเอกสารตัวจริงตามข้อ 5, 6, 7, 8, 9 และ 10 มาแสดงด้วย
- กรณีมีครอบครัวติดตามมาอยู่ด้วย ให้แสดงหลักฐานครอบครัว ได้แก่ ทะเบียนสมรส ใบเกิดบุตร หากออกโดยรัฐบาลในต่างประเทศ ให้ผ่านการรับรองจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีอุปการะภรรยาไทย หรือสามีเป็นคนไทย
- แบบฟอร์ม ตม. 7
– รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม จำนวน 1 รูป
– ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท - สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
- หลักฐานประกอบการขออยู่ต่อ
- กรณีอุปการะภรรยาไทย
- ทะเบียนสมรส
- สูติบัตรบุตร (ถ้ามี)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ของภรรยา)
- บัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ(ของภรรยา)
- หลักฐานแสดงรายได้ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายรวมกัน ไม่น้อยกว่า 400,000.- บาท
- กรณีทำงาน
- สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2)
- หนังสือรับรองเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 40,000.- บาท
( ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ ตำแหน่งและเงินเดือน)
สามีหรือภรรยาทำงานมีรายได้รวมกันขั้นต่ำ เดือนละ 40,000.- บาท - บันทึกถ้อยคำของสามีและภรรยา เพื่อยืนยันสถานะภาพความเป็นสามีภรรยา
- แผนที่บ้าน รูปถ่ายบ้านพักและครอบครัว
- อื่นๆ เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
- กรณีรับอุปการะจากสามีคนไทย
- ทะเบียนสมรส
- สูติบัตรบุตร (ถ้ามี)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ของสามี)
- บัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ(ของสามี)
- บันทึกถ้อยคำของสามีและภรรยา เพื่อยืนยันสถานะภาพความเป็นสามีภรรยา
- แผนที่บ้าน
- กรณีอุปการะภรรยาไทย
หลักเกณฑ์ การขออยู่ในราชอาณาจักรไทย (ขอวีซ่า) ประเภทบริษัททั่วไป (แบบย่อ รายละเอียดแบบเต็มดูด้านล่าง)
บิดา มารดาเป็นคนสัญชาติไทย
- ตม. 7
- สำเนาหนังสือเดินทาง
- รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
- ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
- หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร หรือสูติบัตร ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา
- บันทึกปากคำผู้ยื่นคำร้อง และบุตร
- เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
บิดา มารดาเป็นคนมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
- ตม. 7
- สำเนาหนังสือเดินทาง
- รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
- ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
- หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร หรือสูติบัตร ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา
- หลักฐานแสดงการมีถิ่นที่อยู่ของบิดา มารดา (สำเนาหนังสือเดินทาง , ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ , ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)
- บันทึกปากคำของผู้ยื่นคำร้อง และบุตร
- หลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน อาชีพ และรายได้บิดามารดาพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- บุตรต้องยังไม่บรรลุนิติภาวะ (ไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์) หรือ อยู่ระหว่างการศึกษา โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับ หลักสูตรระดับ จำนวนปีการศึกษา และยังอยู่ในอุปการะของบิดามารดา หรือพิการจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
- เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น* บุตร สามารถเข้ามาและยื่นคำร้องขออยู่ต่อฯ เพื่ออุปการะบิดา-มารดาที่เป็นคนมีถิ่นที่อยู่ฯ ได้เพียงคนเดียว
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อในกรณีเป็นครูผู้สอนในสถานศึกษาของรัฐบาล หรือเอกชน หรือโรงเรียนนานาชาติ
แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
กรณีเพื่อทำหน้าที่เป็นครูผู้สอน
ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หลักฐานเอกสารประกอบ
- หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้นๆ ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
- หนังสือรับรองจากสถานศึกษานั้น ๆ
- ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2)
- สัญญาว่าจ้าง
- หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ.ง.ด. 91) ของคนต่างด้าวในรอบปีที่ผ่านมา
ในสถานศึกษาของเอกชนหรือโรงเรียนนานาชาติ หลักฐานเอกสารประกอบ
- ในส่วนกลาง – หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้นๆ ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน หรือ
ในส่วนภูมิภาค – หนังสือรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่สถานศึกษานั้น ๆ ตั้งอยู่โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลา ที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน - หนังสือรับรองจากสถานศึกษานั้น ๆ
- ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2)
- คุณวุฒิการศึกษา
- ใบอนุญาตให้เป็นครู ( สช . 11)
- ใบอนุญาตให้บรรจุครู ( สช . 18 หรือ 19)
- สัญญาว่าจ้าง
- ใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ( สช . 2)
- ใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ ( สช . 8) ใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ ( สช . 5)
- หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ.ง.ด. 91) ของคนต่างด้าวในรอบปีที่ผ่านมา